เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
รณรงค์การเลือกใช้สินค้าปลอดสารพิษเพื่อลูกเด็กไทยแข็งแรง

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อันตรายจากสารBPA

ฉบับที่ 144 / 2552
แคนาดา และสหรัฐอเมริกาประกาศให้สาร Bisphenol A (BPA)
เป็นสารเคมีอันตรายต้องห้าม
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า รัฐบาลแคนาดาประกาศให้สาร Bisphenol A หรือ BPA เป็นสารเคมีอันตรายต้องห้าม เนื่องจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข (Health Canada) และด้านสิ่งแวดล้อมของแคนาดา (Environment Canada) ตรวจพบว่าสาร Bisphenol A เป็นสารเคมีที่ใช้สำหรับทำให้พลาสติกแข็งตัวและคงรูปและใช้ในการผลิตภาชนะกระป๋อง ขวดน้ำ ขวดนมเด็ก และ CDs) เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติและเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคตับ ซึ่งเคยประกาศห้ามจำหน่ายขวดนมเด็กที่มีสาร Bisphenol A ไปแล้วเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2551 ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการค้าฯนครโตรอนโตคาดว่าภายในปี 2552 รัฐบาลแคนาดาจะประกาศห้ามนำเข้า จำหน่าย และโฆษณาสินค้าพลาสติกและสินค้ากระป๋องที่มีสาร Bisphenol A ปนเปื้อน
นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญ และเมืองชิคาโกเป็นเมืองแรกที่จะบังคับใช้กฎหมายนี้ โดยจะออกกฎหมายห้ามใช้สารBPA ในขวดนม หรือภาชนะบรรจุอาหารสำหรับเด็กและทารกวัยแรกเกิด คาดว่าภายหลังผ่านการอนุมัติกฎหมายใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2553 เป็นต้นไป แต่การประกาศห้ามใช้สาร BPA ของสหรัฐฯ นั้น มีความเข้มงวดมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US Food and Drug Administration: USFDA) มีความเห็นสอดคล้องกับหน่วยงานกฎหมายในประเทศแคนาดา ยุโรป และญี่ปุ่น ว่าปริมาณสาร BPA ที่พบในบรรจุภัณฑ์ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพที่รุนแรงและเฉียบพลัน ทั้งในผู้บริโภคทั่วไปตลอดจนทารกและเด็กเล็ก ซึ่งอนุญาตให้พบสาร BPAได้ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตราย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://fic.nfi.or.th//upload/early/media/4495.pdf และ www.chemicalsubstanceschimiques.gc.challenge-defi/bisphenol-a_e.html
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่ามีแนวโน้มว่าประเทศต่างๆ จะเข้มงวดมากขึ้นในการห้ามใช้สาร BPA กับผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและทารก ภาชนะพลาสติก กระป๋อง ขวดน้ำ ขวดนม ฯ ดังนั้น ผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการผลิตสินค้ากลุ่มดังกล่าวไม่ให้มีสาร Bisphenol A ปนเปื้อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาถูกกักเก็บ ทำลาย และห้ามนำเข้าสินค้าของไทยในตลาดแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้
∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗∗
ที่มา : 1. สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโตรอนโต
2. สถาบันอาหาร 24 มิถุนายน 2552
pcoc.moc.go.th/.../85/.../ฉบับที่%20144%20ข่าว%20มก%5B1%5D..doc -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น